C E F R

สถานศึกษา ครู  อาจารย์ นักเรียน นักศึกษา

เตรียมความพร้อมอย่างไรเมื่อมาตรฐาน CEFR ถูกจัดให้เป็นนโยบายหนึ่งในการปฏิรูปการศึกษา

การเรียนการสอนภาษาอังกฤษ

CEFR มีบทบาทอะไรกับสถานศึกษา นักเรียน และนักศึกษา?

       “กระทรวงศึกษาธิการ” มีนโยบายเร่งปฏิรูปการเรียนรู้ทั้งระบบให้สัมพันธ์เชื่อมโยงกัน เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาและพัฒนาศักยภาพของผู้เรียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสร้างเสริมสมรรถนะและทักษะการใช้ภาษาอังกฤษ ให้ผู้เรียนสามารถใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารและใช้เป็นเครื่องมือในการแสวงหาองค์ความรู้เพื่อการพัฒนาตน อันจะนำไปสู่การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าว กระทรวงศึกษาธิการจึงกำหนดนโยบายการปฏิรูปการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานขึ้นเพื่อให้ทุกภาคส่วนได้ตระหนักถึงความจำเป็นที่จะต้องเร่งรัดปฏิรูปการเรียนการสอนภาษาอังกฤษและพัฒนาผู้เรียนให้มีสมรรถนะและทักษะตามที่กำหนด 

       เพื่อบรรลุเป้าประสงค์ดังกล่าว สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานจึงได้กำหนดแนวปฏิบัติในการปฏิรูปการเรียนการสอนภาษาอังกฤษตามนโยบายในแต่ละด้าน เพื่อให้หน่วยงานทุกสังกัดที่จัดการศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานทั้งในส่วนกลาง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และสถานศึกษานำไปดำเนินการให้บรรลุเป้าหมาย

ตารางเปรียบเทียบมาตรฐานการวัดระดับภาษาอังกฤษ

ความสามารถทางภาษาอังกฤษระดับ A1 - B1 ทำอะไรได้บ้าง?

CEFR รู้ก่อนได้เปรียบกว่า...

สถานศึกษาต้องเตรียมความพร้อมอย่างไรบ้าง?

รายงานการประชุมปฏิบัติการสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกรอบอ้างอิงความสามารถทางภาษาอังกฤษ (CEFR)

1. นโยบายการปฏิรูปการเรียนการสอนภาษาอังกฤษตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ มี 6 ข้อ คือ

  • ใช้กรอบมาตรฐานความสามารถทางภาษาอังกฤษที่เป็นสากล ได้แก่ The Common European Framework of Reference for Languages (CEFR) เป็นกรอบความคิดหลักในการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษของประเทศไทย ออกแบบหลักสูตร พัฒนาการเรียนการสอน การทดสอบ วัดผล พัฒนาครู กำหนดเป้าหมายการเรียนรู้
  • ปรับจุดเน้นการเรียนการสอนภาษาอังกฤษให้เป็นไปตามธรรมชาติของการเรียนรู้โดยเน้นการสื่อสาร(Communicative Language Teaching: CLT) ปรับจากการเน้นไวยากรณ์เป็นเน้นการสื่อสารเริ่มจาก ฟัง พูด อ่าน เขียน
  • ส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาอังกฤษที่มีมาตรฐานตามกรอบมาตรฐานหลัก
  • ส่งเสริมการยกระดับความสามารถการใช้ภาษาอังกฤษ คือขยายโครงการพิเศษการจัดการเรียนการสอน EP/ MEP/ IP/EBE พัฒนาห้องเรียนพิเศษภาษาอังกฤษ (Enrichment Class) เพื่อการสื่อสารทางสังคม และด้านวิชาการและการพัฒนาห้องเรียน การสนทนาภาษาอังกฤษเน้นฟังพูดเพื่ออาชีพอย่างน้อย 2 ชั่วโมง (ขยายโอกาส) จัดกิจกรรมและสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมความสามารถภาษาอังกฤษ คือการจัดค่ายวิชาการ 2-4 สัปดาห์ช่วงปิดภาคเรียน เพิ่มชั่วโมงเรียนอย่างต่อเนื่อง ครึ่งวัน ทั้งวัน จัดสภาพแวดล้อมกิจกรรมในโรงเรียน สอนภาษาอังกฤษมีวิชาเลือกให้ผู้เรียน
  • ยกระดับความสามารถการจัดการเรียนการเรียนการสอนของครูให้สอดคล้องกับวิธีการเรียนรู้ที่เน้นการสื่อสาร (CLT) เป็นไปตามกรอบหลักของ CEFR ประเมินความรู้พื้นฐานของครู ฝึกอบรมครู
  • ส่งเสริมให้มีการใช้สื่อ เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาเป็นเครื่องมือในการพัฒนา

2. คำอธิบายกรอบอ้างอิง CEFR

CEFR เป็นมาตรฐานกลางสำหรับกลุ่มประเทศยุโรปในการจัดทำหลักสูตร (curriculum) ประมวลการสอน (syllabus) รวมทั้งการวัดผล (assessment)

  • An action-oriented approach
  • ให้รายละเอียดว่า ผู้เรียนภาษาต้องรู้และเรียนรู้อะไร ในการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในบริบทต่างๆรวมทั้งบริบททางวัฒนธรรม
  • กำหนดมาตร (scale) สมรรถภาพภาษาเป็นระดับต่างๆ (A1-C2) เพื่อให้เป็นเป้าหมายเป็นขั้นๆให้ผู้เรียนได้พัฒนาตนและเป็นเกณฑ์ในการวัดผลสัมฤทธิ์ของตน

3. ความสอดคล้องของระดับคุณภาพเรียน กับ CEFR

กระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดเป้าหมายการพัฒนาระดับความสามารถทางภาษาของผู้เรียนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ไว้ดังนี้

  • ผู้สำเร็จการศึกษาระดับประถมศึกษา(ป.6) ระดับความสามมารถทางภาษาขั้นเริ่มต้น ระดับตามกรอบ CEFR ระดับ A1
  • ผู้สำเร็จการศึกษาระดับการศึกษาภาคบังคับ(ม.3) ระดับความสามารถทางภาษาขั้นเริ่มต้น ระดับตามกรอบ CEFR ระดับ A2
  • ผู้สำเร็จการศึกษาขั้นพื้นฐาน (ม.6/ปวช.) ระดับความสามมารถทางภาษาขั้นต้น ระดับตามกรอบ CEFR ระดับ B1

4. การประเมินตนเองด้านทักษะภาษาอังกฤษ โดยใช้ Self-Assessment Checklist ตามกรอบอ้างอิง CEFR

ผู้เรียนสามารถเข้าทดสอบในระบบออนไลน์เพื่อประเมินตนเอง แบบทดสอบนี้มีหลายสถาบันทางภาษาที่จัดทำเพื่อให้เข้าไปทดสอบ  มีทั้งทักษะการฟัง พูด อ่าน และเขียน

5. การสอนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร (Communicative Language Teaching) ที่สัมพันธ์กับ CEFR

การสอนแบบ Communicative Language Teaching  (CLT) เน้นการสอนที่ให้ผู้เรียนได้ฝึกใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร ทั้ง 4 ทักษะ  ไม่เน้นไวยากรณ์ในช่วงแรกๆ เมื่อผู้เรียนสามารถใช้ภาษาได้แล้วค่อยเพิ่มความถูกต้องทางไวยากรณ์ เพื่อการสื่อสารขั้นสูง

6. การฝึกทำแบบทดสอบภาษาอังกฤษตามระดับต่างๆตามกรอบ CEFR

ตัวอย่างแบบทดสอบ Online  ที่ประชุมได้ทดลองให้ทดสอบความรู้โดยใช้ข้อทดสอบของสภาบันทางภาษามาให้ทดลองสอบและแนะนำ Website ที่ให้ไปทดลองสอบด้วยตนเอง

ทั้งนี้ นโยบายปฏิรูปการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ ของกระทรวงศึกษาธิการ จะเกิดขึ้นอย่างแน่นอน

Limitless Education ขอร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาทักษะทางภาษาอังกฤษของเด็กและเยาวชนไทย ให้มีคุณภาพตามมาตรฐานสากล ตามกรอบ CEFR ในรูปแบบ “การศึกษายุค Thailand 4.0”

วางรากฐานภาษาอังกฤษที่มั่นคงกับ

โปรแกรมตามกรอบมาตรฐาน CEFR ในรูปแบบหลักสูตรการสอนแบบผสมผสาน (Blended  Learning) ที่เราค้นคว้าและวิเคราะห์แล้วว่า 

"มีประสิทธิภาพสูงสุด"

กับการเรียนการสอนในสถานศึกษา เพื่อ “เด็กและเยาวชน ในประเทศไทย” 

Reallyenglish@LED ตอบโจทย์นโยบายเร่งปฏิรูปการเรียนการสอน “ภาษาอังกฤษ” ทั้งระบบในทุกด้าน เพื่อให้นักเรียน และ นักศึกษา ใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารได้จริงในชีวิตประจำวัน พร้อมแล้วหรือยัง? ที่จะพัฒนาทักษะและศักยภาพเด็กและเยาวชนไทยตั้งแต่ตอนนี้

พัฒนาศักยภาพตนเองตอนนี้!

ศึกษาข้อมูล ลงทะเบียน เพื่อทดลองใช้ Reallyenglish@LED

ฟรี!!

อ่านเพิ่มเติม...

CEFR กับใบประกอบวิชาชีพครู